ทุกคนมันจะมีจุดเริ่มต้นของการเสพติดการท่องเที่ยวกันทั้งนั้นแหละ และมันจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมต่างๆ ที่ตัวแกเองอาจจะไม่สังเกต
ไม่เป็นไรเราจะมาชี้แนะแกเอง..”แกมันเป็นคนขี้เที่ยว”
วันนี้เราไม่ได้มาโพสต์เล่นๆนะเรามีข้อมูลดีๆ จาก Bank Krungsri มาฝากกันด้วย เอาล่ะลองมาเช็คกันนะฮะ ว่าพฤติกรรมริ่มต้นของคนขี้เที่ยวของแกขั้นไหนกันแล้ว 1.เที่ยวบ่อยจัง 2.เที่ยวบ่อยมาก 3.เที่ยวบ่อยฉิบหาย ลองดูกันว่า Check list และเทคนิคดีๆมาแชร์กันเล็กๆน้อยๆ จะได้รู้กันไปว่า “คนขี้เที่ยว” ระดับ Beginner จนถึง Advance เค้ามีตัวตนกันอย่างไร และต้องวางแผนเรื่องอะไรบ้าง
“เสพข้อมูลสุดๆ” จุดเริ่มต้นของคนขี้เที่ยว เริ่มต้นมาในโหมดของแรงบันดาลใจ เริ่มจากภาพก่อนเลยล่ะ ใครถ่ายภาพสวยๆ “โหยยยยอยากไปจังแกร“ ตามมาด้วยไทม์ไลน์เฟสเนี่ยมัน เป็นสิ่งที่บอกว่าแกกำลังสนใจอะไรอยู่อย่างชัดแจ้งถ้าแกแชร์ไลค์โพสต์เรื่องเที่ยวบ่อยจงรู้นะว่า”แกเริ่มแล้ว“หลังจากนั้นก็เริ่มเป็นสมาชิกกลุ่มไลค์เพจโดนบล็อกเกอร์ตัวดีทั้งหลายกล่อมประสาท Subscribe Youtube หรือสำหรับคนที่อยากได้ความลึกซึ้งอินจัดต้องไปสิงในห้องบลู Pantip
“เริ่มอิจฉาคนที่ไปเที่ยวและวางแผนเที่ยวล่วงหน้ายาวๆ” จุดเริ่มต้นของคนขี้เที่ยว เริ่มมีการไปแซวและเม้นท์ เพื่อนบ่อยๆ ถามไถ่วิธีการไปเที่ยว “เที่ยวบ่อยอิจฉาจัง” อินบ๊อกซ์ไปถามแอดมินเพจต่างๆว่า “พี่ขา..ไปที่นี่ยังไงคะ” เริ่มกาปฏิทินวันหยุด เขียนใบลาล่วงหน้า พฤติกรรมที่แสดงออกชัดเจนมันอยู่ตรงนี้ ทริปทั้งหลายทั้งปวงถาโถมหนักมาก
“ยืนหนึ่งเรื่องวางแผนเงิน” ใจมีแล้วกายก็พร้อมแล้ว “ต้องมีเงิน” เห็นตั๋วโปรเครื่องบิน โปรที่พักมันบีบหัวใจ สั่นๆอยู่ข้างใน เมื่ออาแปะเดินมาเคาะประตูว่า “มีตั๋วถูกมาบอก” อยากจะบ้าตายมาก กดซื้อรัวๆ แต่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็มีภาระทางการเงินอยู่หลายด้าน ใจเย็นๆกันนะ วันนี้เราขอแนะนำการ เช็คสุขภาพเงิน แบบฉบับ Bank Krungsri (ในฐานะเราเป็นลูกค้า) สรุปหลักๆก็คือ การวางแผนการใช้จ่าย ออมก่อนจ่าย ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นก่อนเสมอ มีสติในการใช้บัตรเครดิต และสิ่งสำคัญคือจัดการเงินเดือนหรือรายได้ไม่ให้ต้องหมุนใช้แบบเดือนชนเดือน เพียงเท่านี้สุขภาพการเงินของเราก็จะแข็งแรงขึ้นแบบไม่น่าเชื่อ อ่านฉบับเต็มได้ที่ http://bit.ly/2TvmAkG
ในฐานะคนขี้เที่ยวเราก็จัดการชีวิตง่ายๆด้วย Priority ของการ
ใช้เงิน อย่างมีวินัย ตามที่ธนาคารแนะนำซึ่งได้ผลดีเชียวล่ะ
“ฉลาดใช้เงินและอัพเดทข้อมูลอยู่ตลอดเวลา” สุดท้ายก่อนจากกันในฐานะที่เราเป็นคนขี้เที่ยวรุ่นพี่ ขอเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยีในการบริหารการเงิน ส่วนตัวเราใช้ App ที่ใช้บันทึกรายรับ-รายจ่าย (มีหลาย App โหลดติดเครื่องกันไว้) ซื้ออะไรก็บันทึกไว้เป็นหมวดหมู่ รายรับด้านไหนเท่าไหร่ งบประมาณมีแค่ไหนก็บันทึกไปเลยง่ายๆ (เอาไปใช้บันทึกรายจ่ายในทริปก็ได้นะ) อันนี้เป็นเครื่องมือในการบริหารเงินให้ชีวิตง่ายขึ้นและมันจะทำให้เราฉลาดใช้เงินเพื่อแยกงบประมาณมาเที่ยวได้สะดวกขึ้น และทำไมนักท่องเที่ยวต้องอัพเดทเทรนด์ต่างๆอยู่ตลอด ด้วยโลกที่เปลี่ยนไปเร็วมากแม้แต่ App ธนาคารที่เราใช้ทุกวันก็มีอะไรเปลี่ยนแปลงจนเราอยากจะมาแชร์ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว เราเชื่อว่าเพื่อนๆทุกคนมี Mobile App ของธนาคารกันอยู่แล้ว ส่วนตัวเราใช้บัญชีของ Bank Krungsri เป็นบัญชีหลัก (ไม่เชื่อขอเลขบัญชีโอนมาได้ 55) เราคิดว่าทุกคนก็ค่อนข้างคุ้นเคยกับการเบิกเงิน โอนเงิน ดูยอดบัญชี ผ่าน App และคิดว่าเป็นฟังก์ชั่นหลักๆที่ใช้กัน แต่ที่เราบอกว่าอัพเดทเทรนด์เนี่ยก็เพราะ KMA (Krungsri Mobile App) มี Option การขอสินเชื่อผ่าน App แล้วจ้า เราขอบอกก่อนว่าเรื่องนี้รู้ไว้ใช่ว่า เพราะถ้าถึงคราวจำเป็น จะได้รู้ว่า กรุงศรีเค้ามีแบบนี้ด้วย สินเชื่อที่ว่ามีชื่อว่า Krungsri iFIN สินเชื่อที่ยื่นกู้ด้วยตนเองผ่าน App KMA ที่เด็ดไปกว่านั้นคือรู้ผลเบื้องต้นภายใน 1 วัน (เร็วมากจริงๆ) แถมดอกเบี้ยถูกกว่าสินเชื่อปกติ นี่แหละคือยุคดิจิตอลที่แท้จริง ถอนเงิน โอนเงิน มันธรรมดาไป KMA จิ้มขอสมัครสินเชื่อได้แล้วจ้า ง่ายและสะดวกมาก เพราะเข้า App จิ้มสมัครเพียง 5 ขั้นตอนเท่านั้น เพิ่มเติมดูตามลิงก์นี้เลยจ้า https://bit.ly/2S1d1fO
ตามที่เราบอกไปแหละว่าคนขี้เที่ยวต้องฉลาดใช้เงินและอัพเดทข้อมูลอยู่ตลอดจะได้ปรับตัวให้ทันโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว…